top of page

ไขมันในเลือดสูง เสี่ยง...โรคหัวใจและหลอดเลือด

ปกบทความไขมันในเลือดสูง

แชร์บทความนี้:

ภาวะไขมันในเลือดสูง
        ปกติร่างกายคนเราจะมีไขมันอยู่ 2 ชนิด คือ
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
        คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ร่างกายของเราต้องการคอเลสเตอรอลบางอย่างในการสร้างสุขภาพที่ดี เช่น เป็นสารตั้งต้นผลิตฮอร์โมนบางชนิด และเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ และหากร่างกายเรามีคอเลสเตอรอลมากเกินไป จากประโยชน์ก็อาจกลับกลายเป็นโทษร้ายได้เหมือนกัน
ประเภทของคอเลสเตอรอล
  • ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี

เป็นชนิดอันตราย เพราะเป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบ​

  • ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดที่ดี

ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระเลือด ต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ HDL ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย

 

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง : อาหารหวาน มัน เค็ม เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทะเล โดยเฉพาะไขมันทรานส์ พบได้ในขนมอบ ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม

 

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

        ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการที่ไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรง หากร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็น สารอาหารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน บางส่วนถูกสะสมในตับ หากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์สูง จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคไขมันเกาะตับ และมะเร็งเต้านมได้

ไตรกลีเซอไรด์ อาจมีระดับสูงขึ้นจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน สเตียรอยด์ เป็นต้น

การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุม ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ อาหารทอด แกงกะทิ ขนมอบหรือเบเกอรี่ ฟาสต์ฟู้ด ขนมทอดกรอบ

  • ลดปริมาณอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ขนมหวาน ไอศกรีม

  • ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทข้าว-แป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว สาคู เผือก มัน ข้าวโพด รวมทั้ง ผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย เป็นต้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

  • ลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 25-30 นาที 3-5 วัน ต่อสัปดาห์

​​​

        เมื่อใดที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป ไขมันจะไปเกาะตามผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้าไขมันสูงมากจะมีผลทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยเฉพาะบริเวณขา ทำให้เดินแล้วปวดน่อง และอาจส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรืออาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต มากขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดหมายการตรวจ

เซ็นทรัล แล็บ กรุ๊ป คลินิกเทคนิคการแพทย์ (จังหวัดลำปาง)
โทร. 085-511-5500
Facebook: เซ็นทรัลแล็บกรุ๊ป ลำปาง
Line: @centrallabgroup หรือลิงก์ https://lin.ee/CJTGYOa

  • Facebook
  • Line
  • Map icon (1)

รายการตรวจที่คุณอาจสนใจ

FPG.png

โปรแกรมตรวจโรคเบาหวาน

Lipid Profile.png

โปรแกรมตรวจไขมันในเลือด

CTL Logo

เซ็นทรัล แล็บ กรุ๊ป คลินิกเทคนิคการแพทย์

655/19-20 ถนนไฮเวย์-ลำปาง-งาว ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง 52000

วันจันทร์-วันศุกร์: 08.00 - 20.00 น. I วันเสาร์: 08.00 - 12.00 น. I หยุดทุกวันอาทิตย์

ติดต่อสอบถาม
โทร. 085-511-5500
E-mail: admin@centrallabgroup.co.th
E-mail: support@centrallabgroup.co.th

Social media
Line: @centrallabgroup
Facebook: เซ็นทรัลแล็บกรุ๊ป ลำปาง

  • Facebook
  • Line
  • Map icon
bottom of page