top of page

โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE (โรคพุ่มพวง)

ปกบทความ SLE.png

แชร์บทความนี้:

     โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง เป็นโรคร้ายที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ แต่มีข้อบ่งชี้แสดงอาการป่วยในหลาย ๆ อวัยวะร่วมกันโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันหรือต่างช่วงเวลาก็ได้ มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ของแต่ละอาการเป็นระยะ และอาการรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน อาจมีข้อบ่งชี้โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE ได้
โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
     โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย
  • พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • พบบ่อยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ 15 – 45 ปี
  • ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาดว่าเกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่นแสงแดด, ยา, การติดเชื้อ ฯลฯ

อาการของโรค

     โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาการที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย:

  • อ่อนเพลีย มีไข้

  • ปวดข้อ ข้อติด แข็ง ฝืด ขาบวม

  • พบผื่นผิวหนัง แพ้แสงแดด มีแผลในปาก และผมร่วง

  • ปัสสาวะเป็นฟอง หรือมีเลือดปน ความดันโลหิตสูง หนังตาบวมหลังตื่นนอน

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไตทำงานลดลง

  • เม็ดเลือดขาวต่ำ มีภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ

  • หายใจลำบาก

  • ตาแห้ง

  • สับสน และมีความบกพร่องทางความสามารถของสมอง (Disorientation and cognitive impairment)

การตรวจวินิจฉัยโรค
     โรค SLE เป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากเนื่องจากลักษณะบ่งชี้และอาการของแต่ละผู้ป่วยแตกต่างกันมาก ซึ่งอาการของโรค SLE อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา พร้อมทั้งมีอาการคล้ายกับโรคอื่นอีกมากมาย โรค SLE จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเพียงชนิดเดียว การวินิจฉัยจะประเมินจากผลการตรวจเลือดและปัสสาวะ ลักษณะอาการ สัญญาณบ่งชี้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
     การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ มีรายการตรวจดังนี้:

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) - การตรวจวิเคราะห์ เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่จับตัวกับออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง

  • ค่าอักเสบในร่างกาย (ESR, CRP) – อัตราที่สูงกว่าปกติบ่งบอกถึงภาวะการอักเสบเรื้อรังในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรค SLE

  • การตรวจการทำงานของตับและไต (LFT & RFT) - การตรวจเลือดสามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตับและไต ซึ่งโรค SLE อาจทำให้อวัยวะเหล่านี้มีการทำงานผิดปกติได้

  • การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA) – การตรวจตัวอย่างปัสสาวะอาจแสดงให้เห็นว่ามีโปรตีนสูงขึ้นหรืออาจพบเม็ดเลือดได้

  • การตรวจภูมิคุ้มกันต่อร่างกายตัวเอง เช่น ANA (antinuclear antibody), Anti-dsDNA, Antiphospholipid antibody และ Anti-Sm antibody เป็นต้น

การดูแลตัวเอง

  • หลีกเลี่ยงแสงแดด

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด

  • ยากดภูมิคุ้มกันเป็นส่วนสำคัญในการความควบคุมไม่ให้โรคกำเริบ ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยา ลดยา หรือซื้อยารับประทานเอง

  • เนื่องจากการรับประทานยากดภูมิอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงควรล้างมือเป็นประจำ สวมใส่หน้ากากในที่แออัด รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด

  • พบแพทย์สม่ำเสมอ

โรค SLE เป็นโรคที่ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายขาด แต่การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย และการให้ความร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา จะสามารถควบคุมมิให้โรคกำเริบและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเหมือนคนปกติได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ นัดหมายการตรวจ

เซ็นทรัล แล็บ กรุ๊ป คลินิกเทคนิคการแพทย์ (จังหวัดลำปาง)
โทร. 085-511-5500
Facebook: เซ็นทรัลแล็บกรุ๊ป ลำปาง
Line: @centrallabgroup หรือลิงก์ https://lin.ee/CJTGYOa

  • Facebook
  • Line
  • Map icon (1)
bottom of page